งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93199
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93133
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92484

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง
ผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 90270 ครั้ง ดาวน์โหลด 117 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                         การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และ                                                                          เ                               เห็ดกระด้าง                                                                                                                                                        w                              Study of Chitin and Chitosan Quantity from Animal Shells and                                                     ก                              Amtrak Mushrooms                                                                                                    โดย                          นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา                                                                                               ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                                                              ปีการศึกษา                 2558                                                                                                         อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์    

          การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely  Randomized Design;  CRD) กำหนดให้มี 4 กลุ่มทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยและค่าร้อยละของไคตินที่มีมากที่สุดคือ ไคตินจากกาบหอยโดยมีค่าเท่ากับ 852.51 กรัม และ 85.25% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับปริมาณไคตินจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคตินที่ได้จากเห็ดกระด้าง 734.42กรัม และ 73.44% เปลือกปู 576.09กรัม และ 57.61% ในขณะที่ปลือกกุ้งมีน้ำหนักเฉลี่ยไคตินและร้อยละของไคตินน้อยที่สุดคือ 489.09กรัม และ 48.91% ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยของไคโตซานและค่าร้อยละของไคโตซาน พบว่า การสกัดจากกาบหอยมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 834.81 กรัม และ 83.48% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคโตซานที่ได้จากเห็ดกระด้าง 737.77กรัม และ 73.78% ไคโตซานจากเปลือกปู 546.43กรัม และ 54.64% ในขณะที่ไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีน้อยที่สุดคือ 421.44กรัม และ 42.14% ตามลำดับ ส่วนการละลายไคโตซานในน้ำส้มสายชูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายของไคโตซานที่ละลายได้ดีที่สุดคือ ไคโตซานจากกาบหอย โดยมีเปอร์เซ็นต์การละลายอยู่ที่ 42.8% ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณการละลายไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นการละลายไคโตซานจากเปลือกกุ้ง 35.5% ไคโตซานจากเปลือกปู 26.7% และไคโตซานจากเห็ดกระด้างมีการละลายน้อยที่สุดคือ 13.9% ตามลำดับ ปริมาณไคตินและไคโตซานที่สกัดได้จากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้างมีปริมาณแตกต่างกัน โดยการสกัดจากกาบหอยจะมีปริมาณไคติน-ไคโตซาน มากที่สุดและมีปริมาณการละลายในน้ำส้มสายชูดีที่สุด รองลงมาคือเห็ดกระด้าง เปลือกปูและเปลือกกุ้ง ตามลำดับ แต่เห็ดกระด้างมีปริมาณการละลายน้อยที่สุด ดังนั้นหากไม่มี กาบหอย แนะนำให้ใช้เปลือกปู มาทำการสกัด จะทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ดีเช่นเดียวกัน



การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย ฐิติพร ภักดีโสภา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88850 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for
Schizophylum commune Production
โดย นางสาวฐิติพร ภักดีโสภา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75% และกลุ่มทดลองที่ 5 ไมยราบยักษ์ 100% ผลการทดลองพบว่าการใช้ไมยราบยักษ์ 100% (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยได้ เนื่องจากมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด (21.4 กรัมต่อถุง) และใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด (12.7 วัน) ดอกเห็ดที่ได้มีขนาดใหญ่ จึงทาให้มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยน้อย (63.1 ดอกต่อถุง) แต่ขนาดของดอกตรงกับความต้องการของตลาด รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ร่วมกับไมยราบยักษ์ 75% (กลุ่มทดลองที่ 4) มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอก และ น้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยปานกลางคือ 15.9 วัน และ 10.2 กรัมต่อถุง ตามลาดับ และมีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 85.7 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% (กลุ่มทดลอง-
ที่ 1) ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด (27.5 วัน) และมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 5.9 กรัมต่อถุง จึงไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนไมยราบยักษ์ในวัสดุเพาะ พบว่า เมื่อมีการเพิ่มสัดส่วนของไมยราบยักษ์มากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อสั้นลงและมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากขึ้น
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว ผลผลิต



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของ มะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
ผู้วิจัย สมศักดิ์ ชอบด่านกลาง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88567 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของ     มะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
                              Comparison of Growth Regulators Efficiency on Quality of Tomato                          Fruit  var. Seeda ‘phedchompoo F1

โดย                       นายสมศักดิ์ ชอบด่านกลาง

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

    งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1 และ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของชนิดสารควบคุมการเจริญเติบโตจากธรรมชาติที่สามารถใช้ทดแทนสารควบคุมการเจริญเติบโตสังเคราะห์ ในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1วางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely Block Design (RCBD) 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใช้ไคตซาน มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด (57.26 ซม.) มีน้ำหนักผลเฉลี่ย ขนาดของผลและความแน่นเนื้อ มากที่สุด คือ 19.05 กรัม 37.1 มิลลิเมตร และ 2.89 กก./ตร.ซม. และผลผลิตที่ได้จะมีขนาด 36 ถึง 40 มิลลิเมตร. (รหัสขนาด 2) ส่วนจำนวนผลผลิตและน้ำหนักผลผลิตรวมอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักผลไม้ น้ำส้มควันไม้ และสปีดเวย์ ตามลำดับ ดังนั้นการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 ที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน และเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า การฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโตในทุกกลุ่มทดลองให้ผลดีกว่าในการปลูกมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 



การศึกษาปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย ธนารัตน์ คำสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88602 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง

ศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดและปุ๋ยอินทรีย์ ในข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง3 ซ้ำ พบว่า ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความสูงเฉลี่ยของข้าวโพดสูงที่สุดคือ37 92 179 และ 184 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 15 30 45 และ 60 วันตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.01) ส่วนน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก พบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8.3-0.7-4.6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 30.5-7.5-7.5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่และการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 19.5-8-4 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ และปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกรในพื้นที่ให้น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 มีค่าสูงที่สุด ในขณะที่การไม่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกน้อยที่สุด คือ 228 กิโลกรัมต่อไร่


เข้าสู่ระบบ