งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายกรวิทย์ จันสุตะ และ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88392 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง
Effect of Some Citrus Peel Powder for Red Flour Beetle Control
โดย นายกรวิทย์ จันสุตะ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของผงบดจากเปลือกพืชตระกูลส้มเพื่อควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวโดยใช้ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้ม 4 ชนิดได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอและชุดควบคุม โดยวิธีการคลุกเมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ผงบดจากเปลือกมะกรูดทำให้มอดแป้งตายมากที่สุดที่ 240 ชั่วโมง (10 วัน) คือ 63% รองลงมาได้แก่ผงบดจากเปลือกส้มเขียวหวาน ส้มโอและมะนาวมีการตายของมอดแป้งเท่ากับ 32% 25% และ 19% ในขณะที่ชุดควบคุมมีประสิทธิภาพน้อยที่สุดมีการตายของมอดแป้ง 3% ดังนั้น ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ ผงบดจากเปลือก มะกรูด ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายของมอดแป้งเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มชนิดอื่นๆ
คำสำคัญ เปลือกพืชวงศ์ส้ม ควบคุม มอดแป้ง
ผู้วิจัย นุจรินทร์ ฉวีรักษ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88693 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
ผู้วิจัย ปิยะพร ทองจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88748 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of Bottle Gourd White Baron
โดย นางสาวปิยะพร ทองจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน โดยวางแผนการทดลอง
แบบ RCBD โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้่าๆ ละ 50 ต้น ขนาดแปลง กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลวัว กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลสุกร และ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักเปลือกผลไม้ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จ่านวนใบเฉลี่ย น้่าหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อแปลง และเปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลงมากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 12.84 ใบต่อต้น 358.76 กรัมต่อต้น 15.24 กิโลกรัมต่อแปลง และ 46.10 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้มีแนวโน้มให้ เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุดคือ 5.52 เซนติเมตร และ 48. 80 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ส่วนผลผลิตตกเกรด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ มีความสูงเฉลี่ย 22.29 เซนติเมตร จ่านวนใบเฉลี่ย 10.79 ใบต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย 5.12 กิโลกรัมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลง 23.40 เปอร์เซ็นต์ และ มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.45 เซนติเมตร
ค่าส่าคัญ กะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยโบกาฉิ ปุ๋ยน้่าหมักอินทรีย์
ผู้วิจัย สมฤดี จันทมุด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88587 ครั้ง ดาวน์โหลด 42 ครั้ง
การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute Sawdust for Pink Oyster Mushroom (Pleurotus djamor) Production โดย นางสาวสมฤดี จันทมุด ชื่อปริญาญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2556 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวลวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 5 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากิน 25 % และ การใช้ขี้เลื่อย 50 % หญ้ากินนี 50 % มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเฉลี่ยเร็วที่สุด และ มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติคือ 19.40 และ 19.66 วัน ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 % และ การใช้ขี้เลื่อย 100 % มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ย เท่ากับ 21 และ 21.93 วัน ตามลำดับ ใน ขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยนานที่สุดคือ 22.80 วัน ส่วนจำนวนดอกเฉลี่ย พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีแนวโน้มให้จำนวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ 8.53 ดอก/ถุง ในขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีจำนวนดอกเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 4.65 ดอก/ถุง สำหรับ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 100% และการใช้ ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ 41.03 และ 37.16 กรัม/ถุง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 50 % หญ้ากินนี 50 % การใช้หญ้ากินนี 100 % และ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 % มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 28.67 27.77 และ 25.52 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้น อัตราส่วนของหญ้ากินนีที่เหมาะสมในการ เสริม หรือ ทดแทน ขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล คือ หญ้ากินนี 25 % ขี้เลื่อย 75 % เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อ จำนวนดอก และ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด และไม่แตกต่างกันทางสถิติ จากการใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะ