งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92925
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92286

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาสภาวะการบรรจุเชิงแอคทีฟชาใบย่านางโดยใช้ตัวดูดซับออกชิเจน
ผู้วิจัย สุภาพร ขจรเพ็ชร และ ใหญ่ ละม่อม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89509 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการบรรจุชาใบย่านางที่เหมาะสมและสามารถชะลอการสูญเสียคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ในชาใบย่านางระหว่างการเก็บรักษาและการยอมรับของผู้บริโภคต่อชาใบย่านางสภาวะการบรรจุแบบต่างๆ โดยศึกษาปัจจัยสภาวะการบรรจุชาใบย่านางแบบที่มีตัวดูดซับออกชิเจนและแบบไม่มีตัวดูดซับออกชิเจนเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40 และ 50 องศาเซลเซียสนาน 6 สัปดาห์ทำการวิเคราะห์ค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณความชื้น ค่าสี L* a* b* และการประเมินการยอมรับของผู้บริโภคผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษาและระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษาปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นได้แก่ ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี L* ได้แก่ ชนิดของถุง oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี a* ได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี b* ได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อความชอบโดยรวมได้แก่ oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้การเก็บรักษาชาใบย่านางที่ 6 สัปดาห์มีสภาวะการบรรจุชาใบย่านางที่บรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) เป็นสภาวะการบรรจุที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาชาใบย่านางมากกว่าถุงที่บรรจุแบบชนิดอื่นๆ โดยมีความชื้นถึง 7% ในสัปดาห์ที่ 6 และมีอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 6 สัปดาห์ที่อุณหภูมิห้อง 25°C ซึ่งมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 88.62 % การยับยั้งและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 8.46 และ 8.98 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิค/กรัมน้ำหนักแห้ง ค่าสี a* ของชาใบย่านางที่บรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) มีค่าเท่ากับ 1.44 และ 1.62 ตามลำดับและการยอมรับของผู้บริโภคต่อชาใบย่านางที่สภาวะการบรรจุแบบที่มีตัวดูดซับออกชิเจนที่ดีที่สุดบรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) มีค่าเท่ากับ 7.30 และ 7.23 ตามลำดับ



ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของซูกินีลูกผสมแตงเขียวมรกต (F1 ไฮบริด)
ผู้วิจัย ธวัชชัย พรมสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89157 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

        เรื่อง                   ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

                                 ของซูกินีลูกผสมแตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด)                                                               ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของซูกินีลูกผสม                       แตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด)      

                            Effect of Chemical Fertilizer and Chitosan on Growth and Yeild 

                            of Green Zucchini (F1Hybrid)

โดย                    นายธวัชชัย พรมสิงห์

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2557

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์นงลักษณ์   พยัคฆศิรินาวิน

 

          ปัญหาพิเศษนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและอัตราส่วนที่เหมาะสมของการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงซูกินีลูกผสม พันธุ์แตงเขียวมรกต (F1ไฮบริด)โดยวางแผนการทดลองแบบRCBD โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 14 ต้น ขนาดแปลง 1 x 10เมตร ผลการทดลองพบว่า ต้นซูกินีในกลุ่มทดลองที่ 5 ที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ยมากที่สุด คือ 10.39 เซนติเมตร และมีความแตกต่างกันทางสถิติ  (p=0.01) นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มให้ความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนใบเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นรอบวงผลเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 132.17 เชนติเมตร 23.19 ใบต่อต้น 4.21 ดอกต่อต้น และ 5.21 กิโลกรัมต่อแปลง ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็ให้ความยาวผลเฉลี่ย และผลผลิตเกรดAปานกลางคือ 14.23 เซนติเมตรต่อผล และ 41.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4 การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับไคโตซาน อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นหากต้องการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกแตงซูกินีลูกผสม ปริมาณที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว 

คำสำคัญ  แตงซูกินีลูกผสม แตงเขียวมรกต ปุ๋ยเคมี ไคโตซาน



การใช้กากมันสาปะหลังในอาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ
ผู้วิจัย นุจรินทร์ ฉวีรักษ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88682 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง



ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนู พันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ
ผู้วิจัย ธนาวุฒิ โคกโพธิ์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88523 ครั้ง ดาวน์โหลด 53 ครั้ง

                        ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ

หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ

Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating   Subtances on Postharvest Quality of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Green Stage

โดย                              นายธนาวุฒิ  โคกโพธิ์

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร. วิรญา  ครองยุติ

 

   การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ   เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55°C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45°C นาน 4 นาที สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด ลดการเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 12 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ     เก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45°C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด ลดการเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ12วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้

 


เข้าสู่ระบบ