งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สมฤทัย สายลุน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89350 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง
อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ
Effect of Heiter and 8 – Hydroxyquinoline Sulfate on Vase Life of
ChrysanthemumFlowers ( Dendranthemum grandifflora )
โดย นางสาวสมฤทัย สายลุน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 X 7 Factorial in Completely Randomized Design มี 2 ปัจจัย คือ 1. ความเข้มข้นของ Heiter มี 4 ระดับ ได้แก่ a1 = 0 %, a2 = 1 %, a3= 2 %และa4 = 3% และ 2. ความเข้มข้นของ 8 – hydroxyquinoline sulfate มี 7 ระดับ ได้แก่ b1 = 0 ppm b2 = 150 ppm b3 = 200 ppm b4 = 250 ppm b5 = 300 ppm b6 = 350 ppm และ b7= 400 ppm รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลอง ผลการทดลองพบว่า การใช้น้ำกลั่นหรือการปักแจกันในสารละลาย 8 – HQS 150 ppm เพียงอย่างเดียวสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยของดอกเบญจมาศได้นาน 8 วัน และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่าการใช้สารละลายไฮเตอร์ ร่วมกับ 8 – HQS ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศได้ ดอกเบญจมาศมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียงแค่ 5 – 8 วัน เท่านั้น ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น คือ 8 วัน แต่การใช้สารละลาย ไฮเตอร์ 1% ร่วมกับ 8 – HQS300 ppm สามารถลดการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีการเน่า หรือการเกิดสีเหลืองของโคนก้านดอกน้อยที่สุดคือ 0.05 ซม. และมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยปานกลางคือ 7 วัน
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88804 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง
ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%
ผู้วิจัย พรรณภัทร คำลอย และ สุมาลิน มังคละ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 92059 ครั้ง ดาวน์โหลด 248 ครั้ง
งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและเพิ่มทางเลือกให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทเต้าหู้แข็ง การศึกษาอัตราส่วนระหว่างถั่วเหลืองกับข้าวโพดสีม่วงที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพของเต้าหู้แข็งสีม่วง ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีหลังการแปรรูปของผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงและศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีผล ต่อผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง โดยกำหนดปริมาณข้าวโพดสีม่วงเท่ากับร้อยละ 0 10 และ 20โดยน้ำหนักของ ถั่วเหลืองทั้งหมด ผลการวัดค่าสี (L*a* และ b*) พบว่าค่าสี L* และค่า b* ของเต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มลดลง (p≤0.05) แต่การเพิ่มปริมาณของข้าวโพดสีม่วงเป็นผลให้ค่า สี a* มีแนวโน้มสูงขึ้น (p≤0.05) และการวิเคราะห์ลักษณะทางเนื้อสัมผัสของเต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง พบว่าค่า hardness มีแนวโน้มลดลง (p≤0.05) ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวโพดสีม่วงที่เติมลงไป ผลการวิเคราะห์ทางเคมี พบว่าปริมาณสารแอนโทไซยานินของผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีหลังการแปรรูป พบว่าโปรตีนในผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p≤0.05) ตามปริมาณข้าวโพดสีม่วงที่เพิ่มขึ้น ไขมันมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ตามปริมาณข้าวโพดสีม่วงที่เพิ่มขึ้นและเถ้ากับความชื้นมีแนวโน้มที่ไม่แตกต่าง (p>0.05) และการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสพบว่า ค่าคะแนนสี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส และความชอบรวม ของเต้าหู้แข็งที่เติมข้าวโพดสีม่วงร้อยละ 10 มีแนวโน้มสูงกว่าตัวอย่างที่ไม่เติมข้าวโพดสีม่วง และที่เติมร้อยละ 20 โดยได้ค่าคะแนน 4.64 4.70 4.08 4.38 และ 4.80 ตามลำดับ
ดังนั้นจากงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วงในปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนักได้การยอมรับจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคมากที่สุด มีลักษณะเนื้อสัมผัส และรวมถึงค่าhardnessที่ใกล้เคียงกับสูตรควบคุม และยังมีโปรตีนที่มากกว่าสูตรควบคุม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เต้าหู้แข็งที่ผลิตจากถั่วเหลือง ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค
ผู้วิจัย นายมนต์ชัย แสงกล้า | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88409 ครั้ง ดาวน์โหลด 73 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรี่อง อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่ม
เมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
Organic and Chemical Fertilizers Rate on Growth and Yield of
Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)
โดย นายมนต์ชัย แสงกล้า
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลอง 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ที่ 4) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตถั่วพุ่มถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี เนื่องจากให้น้ำหนักมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ มากที่สุดคือ 818 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก 309 กิโลกรัมต่อไร่ และ 78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น และดัชนีการเก็บเกี่ยว มีค่าปานกลาง รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าดัชนีตัวชี้วัด น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับ กลุ่มทดลองที่ 5 คือ 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ดปานกลางคือ 9 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝัก และ 290 กิโลกรัมต่อไร่ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กับกลุ่มทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย (กลุ่มทดลองที่ 1) ยกเว้นค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว ทุกกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ