งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
เต้าหู้แข็งเสริมข้าวโพดสีม่วง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2556 |
ผู้วิจัย ศิริภรณ์ เครือแสง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 2137 ครั้ง ดาวน์โหลด 35 ครั้ง
การใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล
Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for Pink Oyster Mushroom (Pleurotus djamor) Production
โดย นางสาวศิริภรณ์ เครือแสง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ลำต้นข้าวโพดสับทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวลโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % ลำต้นข้าวโพดสับ 25% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด คือ 20 วัน รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 50 % ลำต้นข้าวโพดสับ 50 % การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ขี้เลื่อย 25 % ลำต้นข้าวโพดสับ 75% และการใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 100 % มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเฉลี่ยเท่ากับ 21.86 21.98 22.66 และ 25.53 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % ลำต้นข้าวโพดสับ 25% มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 9.91 ดอก/ถุง รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 100% การใช้ขี้เลื่อย 25 % ลำต้นข้าวโพดสับ 75% และการใช้ขี้เลื่อย 50 % ลำต้นข้าวโพดสับ 50 % มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 8.22 6.37 5.11 และ 5.02 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ขี้เลื่อย 100% มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 41.03 กรัม/ถุง รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 75 % ลำต้นข้าวโพดสับ 25% การใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50 % ลำต้นข้าวโพดสับ 50 % การใช้ขี้เลื่อย 25 % ลำต้นข้าวโพดสับ 75 % มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 32.98 27.82 25.67 และ 22.10 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนของลำต้นข้าวโพดสับเพื่อใช้ทดแทนขี้เลื่อยที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดนางนวล คือ การใช้ขี้เลื่อย 75 % ร่วมกับลำต้นข้าวโพดสับ 25 % เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดเฉลี่ยเร็วที่สุด มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด และมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยรองลงมาจากการใช้ขี้เลื่อย 100 %
ผู้วิจัย กฤษณา ขยายวงศ์ และ กอบแก้ว แหวนเงิน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 3081 ครั้ง ดาวน์โหลด 108 ครั้ง
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้า และแป้งข้าวเหนียวดำ ต่อลักษณะบ่งชี้คุณภาพของเส้นก๋วยจั๊บ โดยแปรอัตราส่วน 3 ระดับ คือ 8:1 3.5: 1 และ 3:2 ตามลำดับ ทำการอบแห้งที่อุณหภูมิ 70 °C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง 15 นาที วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเนื้อสัมผัส ได้แก่ ค่าสี ค่าการหดตัว ความสามารถในการคืนตัว ค่า Elasticity และค่า Hardness ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำ ค่าสี L* และค่าสี b* ของเส้นก๋วยจั๊บมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) แต่ทำให้ค่า a* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และค่าการหดตัวเมื่อวัดจากน้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะเมื่อวัดจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีแนวโน้มลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำ ความสามารถในการคืนตัวเมื่อวัดจากน้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะเมื่อวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำและลดปริมาณแป้งข้าวเจ้า และค่า Elasticity และ ค่า Hardness ของเส้นก๋วยจั๊บมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำและลดปริมาณแป้งข้าวเจ้า
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 1856 ครั้ง ดาวน์โหลด 15 ครั้ง
เรื่อง ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro
โดย นางสาวพิลาวรรณ จันทะโคตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l
ผู้วิจัย ปรันยาน์ มณีสร้อย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 1788 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
การใช้กกราชินีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
Using Umbrella Plant(CyperusinvolucratusRottb.)to Substitute Sawdust for Oyster Mushroom (Pleurotusosttreatus (Fr.) Kummer) Production
โดย นางสาวปรันยาน์ มณีสร้อย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้กกราชินีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง)พบว่า ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (กกราชินีร้อยละ 100)รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4
(ขี้เลื่อยร้อยละ 25 กกราชินีร้อยละ 75) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อยร้อยละ 100)กลุ่มทดลองที่ 3
(ขี้เลื่อยร้อยละ 50 กกราชินีร้อยละ 50) และกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อยร้อยละ 75 กกราชินีร้อยละ 25) โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดคือ 26 22 2120 และ 20 วัน ตามลำดับส่วนปริมาณดอกต่อถุงมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยคือ 7.93 6.36 5.33 4.47 และ 2.61 ดอก/ถุง ตามลำดับ และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 4กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 64.58 31.56 30.44 29.84 และ 14.67 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนของกกราชินีที่เหมาะสมสำหรับใช้ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมคือ การใช้กกราชินีร้อยละ 25 ขี้เลื่อยร้อยละ 75 เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วที่สุด และให้ผลผลิตรองมาจากการใช้ขี้เลื่อยร้อยละ 100 เท่านั้นการใช้กกราชินีเสริมในวัสดุเพาะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตเห็ดของเกษตรกรได้เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีมากและหาได้ง่ายในท้องถิ่น